Business

ที่ปรึกษาธุรกิจที่ดี

การประกอบธุรกิจ ส่วนใหญ่แล้วเจ้าของไม่สามารถที่จะมีความรู้ทุกเรื่องของกิจกรรมทางธุรกิจ หรือ รู้แต่ก็ไม่มีเวลามากพอที่จะใส่ใจในทุกกิจกรรมได้ จึงจำเป็นต้องมี “ที่ปรึกษา” ที่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่เจ้าของอาจไม่รู้หรือไม่มีเวลาดูแล จากประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาธุรกิจของผม พบว่าที่ปรึกษาที่ดี ควรเป็นแบบนี้นะ   มีความรู้ในเรื่องที่ให้คำปรึกษา เรื่องนี้เป็นสามัญสำนึกอยู่แล้วเป็นปกติ ที่ปรึกษา จำเป็นต้องรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นอย่างดีหรือลึกซึ้งกว่าคนทั่วไป หรืออาจต้องรู้ลึกซึ้งกว่าเจ้าของธุรกิจด้วยซ้ำไป เพียงแต่ที่ปรึกษาอาจไม่เก่งในธุรกิจเฉพาะโดยรวม ไม่มีความกล้าเสี่ยงเท่าผู้ประกอบการ ไม่มีความรู้เฉพาะทางด้านธุรกิจนั้น หรือ ไม่มีคอนเนกชั่นทางธุรกิจเฉพาะ ซึ่งเป็นจุดแตกต่างจากนักธุรกิจที่ตนให้คำปรึกษา แต่ความรู้เฉพาะเรื่องที่จะให้คำปรึกษานั้นจำเป็นต้องมี เช่น บัญชี การเงิน เทคนิคการผลิต วิศวกรรมเฉพาะทาง การตลาด กฎหมาย เป็นต้น ถ้าไม่รู้เรื่องใด อย่าไปให้คำปรึกษาในเรื่องนั้น เพราะจะเกิดผลเสียหายมากกว่าประโยชน์   มีประสบการณ์ในเรื่องที่ให้คำปรึกษา การมีประสบการณ์เฉพาะในเรื่องที่ตนเองให้คำปรึกษา เช่น ที่ปรึกษาด้านการตลาดการขาย ก็ควรเป็นคนที่ขายของเป็นและเคยขายของ ที่ปรึกษาด้านการทำแผนธุรกิจ ก็ควรเคยเป็นผู้บริหารธุรกิจหรือประกอบธุรกิจเอง ที่ปรึกษาด้านกฎหมายก็ควรเป็นทนายความรับอนุญาต เป็นต้น จึงจะทำให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งพอในเรื่องที่ให้คำปรึกษา สิ่งนี้จำเป็นสำหรับธุรกิจเพราะหากได้ที่ปรึกษาที่ไม่รู้ลึกซึ้งพอ คำแนะนำก็จะเป็นแบบกว้างๆ หรือ มั่วๆ ไม่เกิดประโยชน์อันใด แถมจะเกิดผลเสียต่อธุรกิจที่รับคำปรึกษาด้วยซ้ำไป   ทำงานโดยอิงกับข้อมูลที่วิเคราะห์แล้ว ไม่ใช่ความเห็นส่วนตัวเท่านั้น เพราะหลายคนอาจพูดเก่งเห็นข้อมูลเพียงเล็กน้อยฉาบฉวยก็เสนอให้ผู้ประกอบการทำโน่นนี่นั้นให้มั่วไปหมด …

ที่ปรึกษาธุรกิจที่ดี Read More »

ข้อแนะนำในการเลือกวิทยากร

ข้อแนะนำในการเลือกวิทยากร โดย มงคล ตันติสุขุมาล บริษัท หรือองค์กร หลายแห่งมีความต้องการวิทยากรเพื่อไปให้ความรู้แก่พนักงานของตนเองเป็นประจำทุกๆปี ปีละหลายครั้ง หรือ ต้องการพัฒนาบุคลากรเฉพาะกิจเป็นครั้งๆไป ซึ่งปัญหาในการจัดหาวิทยากรที่เหมาะสมก็เป็นเรื่องน่าสนใจ และอาจเป็นปัญหาของฝ่ายฝึกอบรมหรือฝ่ายบุคคลอยู่มาก จึงอยากให้คำแนะนำผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้

การใช้ที่ปรึกษา ให้ธุรกิจเจริญรุ่งเรือง (ตอนที่ 2)

การใช้ที่ปรึกษา ให้ธุรกิจเจริญรุ่งเรือง (ตอนที่ 2) โดย มงคล ตันติสุขุมาล การจ้างที่ปรึกษานั้น หากท่านนักธุรกิจจ่ายเงินจ้างเอง มักจะพิจารณาจากความรู้และประสบการณ์อย่างรอบคอบ มีการเจรจาเนื้องานและค่าที่ปรึกษาอย่างเหมาะสมก่อนจะมีการเริ่มทำงาน อีกทั้ง มักจะฟังที่ปรึกษาอย่างตั้งใจ (โดยเฉพาะช่วงแรกๆ) แต่มีประเด็นหรือบางปัญหาที่ควรทราบ คือ    1. ไม่เห็นคุณค่าของคำปรึกษา ผู้ประกอบการไทย หรือ คนไทย จำนวนมากมักมองไม่เห็นคุณค่าของ “คำปรึกษา” และมักคิดว่า “คำปรึกษา” ควรได้ฟรีๆ  ซึ่งของฟรี คนก็มักไม่เห็นคุณค่า ทั้งที่แท้จริงแล้วมันเป็นเสมือน “เข็มทิศ” ที่บอกทิศทางที่ควรจะไปให้แก่เจ้าของกิจการ หากที่ปรึกษาปัญหาชีวิตก็เหมือนเข็มทิศที่บอกทิศทางวิธีคิด และการใช้ชีวิตที่ควรจะเป็น ปรากฏการที่คนเข้าวัดตั้งใจฟังธรรมมะก็ต่อเมื่อต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไปแล้ว สูญเสียทรัพย์สินไปแล้ว ทำใจไม่ได้อยู่นาน จนเจอคำปรึกษาจากพระธรรมคำสอน จึงค่อยเข้าใจและทำใจได้ จึงเห็นคุณค่าของคำสอนต่อเมื่อได้เจ็บปวดแล้วนั่นเอง เข้าทำนองสโลแกนหนังจีนกำลังภายในที่ว่า “ไม่เห็นโรงศพ ไม่หลั่งน้ำตา” จึงอยากบอกว่า “คำปรึกษาที่ดี” คือจุดเริ่มต้น และ จุดเปลี่ยน ของทุกสิ่งในแต่ละชีวิตของคน จึงควรรับฟังอย่างตั้งใจ ไตร่ตรอง และมองเห็นคุณค่า

การใช้ที่ปรึกษา ให้ธุรกิจเจริญรุ่งเรือง (ตอนที่ 1)

การใช้ที่ปรึกษา ให้ธุรกิจเจริญรุ่งเรือง (ตอนที่ 1) โดย มงคล ตันติสุขุมาล      ผมมีโอกาสได้ให้คำปรึกษาทางธุรกิจให้แก่ SMEs หลายแห่งตามสมควร จากประสบการณ์พบว่า เจ้าของธุรกิจบางท่านมองเห็นค่าของที่ปรึกษาธุรกิจและตั้งใจจ้างที่ปรึกษาให้ไปช่วยเหลือให้คำปรึกษาแนะนำงานแก่ทั้งเจ้าของและพนักงานขององค์กร ในขณะที่เจ้าของธุรกิจบางแห่งใช้แต่ที่ปรึกษาฟรีที่มาจากโครงการของรัฐโดยมีหลายรายมองไม่เห็นคุณค่า เพียงแต่ไม่อยากเสียโอกาสใช้ของฟรีเท่านั้น ทำให้เกิดผลลัพธ์ในการให้คำปรึกษาที่แตกต่างกันไป      พบว่ากิจการที่ต้องการที่ปรึกษานั้นบางแห่งเกิดจากการที่เจ้าของพยายามแก้ปัญหาทุกวิถีทางแล้วแต่ไม่ได้ผล จึงอยากให้คนนอกที่มีความรู้มีประสบการณ์เข้ามาช่วยให้คำแนะนำ เหมือนคนป่วยที่พยายามกินยาสมุนไพร ยาหม้อ ยาหมอตี๋ ยาผีบอก มาหลายขนานแล้วแต่ไม่หาย จึงคิดไปถามแพทย์ โดยพบว่าในหลายกรณีก็สายเกินแก้      การหาที่ปรึกษาธุรกิจ หรือ กฎหมาย ก็เช่นกัน หลายธุรกิจกว่าจะหาที่ปรึกษาด้านการตลาด ก็ไปตอนธุรกิจมียอดขายร่อแร่อย่างต่อเนื่อง หรือ กว่าจะหาที่ปรึกษาด้านการเงินก็ตอนเป็นหนี้เสียกับทางธนาคาร (NPL) แล้ว หรือ กว่าจะหาที่ปรึกษาทางกฎหมายก็ตอนถูกฟ้องร้อง หรือ ถูกโกงเงินไปแล้ว เป็นต้น ในขณะที่ในต่างประเทศที่เจริญแล้ว และในบริษัทใหญ่ๆของไทย เขาจะจ้างที่ปรึกษาทั้งแบบประจำและไม่ประจำเอาไว้ปรึกษาหลายๆเรื่องตั้งแต่ก่อนทำโครงการ ระหว่างทำโครงการ และ หลังทำโครงการ เพื่อลดความเสี่ยง และ ป้องกันปัญหาแต่ต้นมือ

Meng

Typically replies within a day

Hello, Welcome to the site. Please click below button for phone call. Service available in Thailand. Please call between 9:00 am.-16:00 pm. Phone numer in Thailand (+66) (0) 817168711 Thanks.

Powered by WpChatPlugins
error: Content is protected !!